สาระน่ารู้




มะเขือเทศมีสรรพคุณทางยาค่อนข้างสูง
เพราะมะเขือเทศมีวิตามิน P (citrin) ซึ่งจะช่วยป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด มะเขือเทศยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะจึงสามารถแก้อาการความดันโลหิตสูงมะเขือเทศมี วิตามินเอจึงสามารถรักษาโรคตาได้ ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือมีวิตามินซีมากทำให้สามารถ ป้องกันและรักษาโรคลักปิดลักเปิด ช่วยระบบการย่อยและช่วยการขับถ่ายอุจจาระอีกด้วย


กระเทียมถือเป็นยาเก่าแก่ตั้งแต่สมัยอียิปต์โบราณจนถึงทุกวันนี้ มีอยู่ทั่วไปทั้งในประเทศเขตร้อนและเขตหนาว หัวกระเทียม...มีน้ำมันระเหย รสขม เผ็ดร้อน ใช้เป็นยาระบายแก้ไข้ แก้ไอ ริสสีดวงขับเสมหะ ขับลม รวมถึงแก้การอักเสบของปอด ใช้ทาภายนอกก็แก้กลากเกลื้อน และน้ำคั้นจากกระเทียมยัง สามารถนำมาหยอด หูแก้ปวดหู หูอื้อ ว่ากันว่า การรับประทานกระเทียมวันละ 3-4 กลีบทุกวัน นอกจากจะช่วยแก้อาการความดันโลหิตสูงแล้วยังช่วยลด โคเลสเตอรอลได้ด้วย



กระเพรา
ชื่อท้องถิ่น กะเพราขาว,กะเพราแดง (กลาง), กอมก้อ (เหนือ)
ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบสดหรือแห้ง ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บใบที่สมบูรณ์เต็มที่
ไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไป
รสและสรรพคุณยาไทย รสเผ็ดร้อน เป็นยาตั้งธาตุ แก้ปวดท้อง ท้องขึ้น
จุกเสียดในท้อง ใช้แต่งกลิ่นรสอาหารได้

ในใบชะพลูมีสารอาหารที่สำคัญต่อร่างกายของมนุษย์อย่างมาก คือแคลเซียม และวิตามินเอ ซึ่งจะมีสูงเป็นพิเศษ นอกจากนี้ยังมีฟอสฟอรัส เหล็ก เส้นใย และสารคลอโรฟิล ส่วนสรรพคุณทางยานั้นช่วยบำรุงธาตุ แก้จุกเสียด การกินใบชะพลูมาก ๆ
ชนิดที่เรียกว่ากินกันทุกวัน กินกันแทบทุกมื้อ เช่น ชาวบ้านภาคอีสานนั้นแคลเซียมที่มีในใบชะพลูจะเปลี่ยนเป็นแคลเซียมออกซาเลท ซึ่งถ้าสะสมมากๆ อาจกลายเป็นนิ่วในไตได้ แต่โดยทั่วๆ ไปในชีวิตประจำวันก็ไม่มีใครกินชะ พลูได้มากมายขนาดนั้น
ถ้ากินใบชะพลูต้องกินร่วมกับเนื้อสัตว์ ร่างกายจึงใช้แคลเซียมที่มีอยู่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ


ต้น หอมมีคุณค่าทางอาหารเหมือนผักหลายๆชนิด ที่ให้แคลเซียมและฟอสฟอรัสในสัดส่วนที่เหมาะสม กับการดูดซึมของร่างกาย มีเบ้ต้า-แคโรทีน แล้ยังสารพวกฟลาโวนอยด์ โดยเฉพาะเควิซิทีนที่เป็นเกราะกันมะเร็งให้กับคนเราได้ เหมือนกับที่พบในไวน์แดงราคาแพงนั่นเอง ลองเลือกกินต้นหอมราคาถูก เพื่อรับฟลาโวนอยด์และสารอาหารมากกว่า 10 ชนิด พร้อมด้วยกากใยอาหารกันบ้างเป็นได้

ตะไคร้เป็นผักเครื่องเทศชนิดหนึ่ง ที่นิยมใช้ปรุงอาหารดับกลิ่นคาว อาจนำเอามาต้มหรือหั่นใส่สดๆเลยก็ได้ตะไคร้มีรสเผ็ด ฤทธิ์อุ่น มีสรรพคุณแก้หวัดลมเย็น ปวดศีรษะ ปวดท้อง ไขข้ออักเสบ ใช้เป็นยาง่ายๆดังนี้
ไขข้ออักเสบ : ตะไคร้สด 1 กิโลกรัม ต้มเอาน้ำที่ได้ไปอาบน้ำ
ปวดท้อง : ตะไคร้สดต้มน้ำรับประทาน
ไอ : ตะไคร้สด 60 กรัม ต้มดื่มน้ำแทนน้ำชา

ชื่อสามัญ ติ้วขน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cratoxylum formosum (Jack) Dyer Ssp. pruniflorum Gogel.
วงศ์ CLUSIACEAE
ชื่ออื่นๆ ตาว (สต.); ติ้วแดง, ติ้ว เลือด (เหนือ), ติ้วเหลือง (กลาง), ติ้วหิน (ลป.)
ลักษณะ เป็นไม้ยืนต้น สูง 8 - 15 เมตร มีน้ำยางสีเหลืองตาม แนวเปลือกที่ถูกทำให้เกิดแผล ใบเดี่ยวเรียง ตรงกันข้าม รูปวงรีหรือรูปขอบขนาน กว้าง 2.5 - 4.5 ซม. ยาว 3 - 13 ซม. ผิวใบมีขนละเอียดทั้งสอง ด้าน ดอกช่อออกเป็นกระจุกตามกิ่งเหนือรอยแผล ใบ กลีบ ดอก สีชมพูอ่อน ผลแห้งแตกได้รูป ไข่แกมกระสวย


พริกขี้หนู
- ชื่ออังกฤษ Bird chilli
- ชื่อวิทยาศาสตร์ Capsicum flutescens Linn.
- วงศ์ Solanaceae
- ประโยชน์ ใช้เป็นยาภายนอก รักษาอาการปวดบวม และใช้ป็นยาภายในช่วยเจริญอาหาร
- วิธีใช้ ใช้ผงพริกแห้งทำเป็นขี้ผึ้งหรือละลายแอลกอฮอล์ทา

ผล ของมะเฟืองเป็นผลไม้ทรงกระสวย เมื่อหั่นแนวขวางได้เป็นรูปดาวห้าแฉก ภาษาอังกฤษจึงเรียกว่า star fruit ผลดิบสีเขียว สุกเป็นสีเหลือง มีทั้งรสหวานและเปรียวแล้วแต่สายพันธุ์
นักโภชนาศาสตร์ได้วิเคราะห์คุณ ค่าทางอาหารของมะเฟืองแล้วพบว่า อุดมไปด้วย วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 ไนอะซีน โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมันเส้นใย แคลเซียมฟอสฟอรัส เหล็กและพลังงาน ในปริมาณไม่น้อยเลย



สะระแหน่
ชื่อวิทยาศาสตร์ Mentha arversis
วงศ์ LABIATAE
ลักษณะ สะระแหน่เป็นพืชเลี้อยตามพื้นดิน ลำต้นสีแดงเข้ม ใบกลมขนาดหัวแม่มือ
ใบค่อนข้างหนา ริมใบหยักโดยรอบและมีกลิ่นหอม
ส่วนที่ใช้ ใบ
วิธีใช้ ขยี้ใบสะระแหน่สดทาถูที่ผิวหนังโดย

โหระพา ใช้บริโภคเป็นผักสด หรือใช้ประกอบอาหารอื่นๆ ก็ได้
ทำให้อาหารมีรสชาติ และกลิ่นหอม น่ารับประทานยิ่งขึ้น ใช้ใบปรุงอาหาร  เป็นผักชูรสได้หลายชนิด เช่น แกงเผ็ด แกงเลียง ผัด ทอด รับประทานสด เป็นเครื่องแนมอาหารคาว หรืออาหารว่าง ได้เป็นอย่างดี นอกจากจะใช้เป็นอาหารแล้ว ยังมีคุณค่าทางยาช่วยขับลมในลำไส้ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ เมล็ดเมื่อแช่น้ำจะพองตัวใช้รับประทานแก้บิด ช่วยหล่อลื่นลำไส้ ใช้ส่วนใบและต้นกลั่นเอาน้ำมัน Volatle oil




ผักแพรว (Polygonum odoratum Lour.)
ชื่ออื่น ผักไผ่ (ภาคเหนือ) พริกบ้า (ภาคกลาง) จันทร์แดง(นครศรีธรรมราช)
- ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ต้น ไม้ล้มลุกปีเดียว สูง 30-35 ซม.ลำต้นทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน และมีรากงอกออก ตามส่วนที่สัมผัสกับดิน ใบ ใบรูปหอก ขอบใบเรียบ ปลายแหลม ฐานใบรูปลิ่ม ใบกว้าง2-3 ซม. ยาว5.5-8 ซม.
- การใช้ประโยชน์ ทางอาหาร ใสกับลาบ ช่วยดับกลิ่นคาว หรือรับประทานเป็นผักสด ทางยา ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร ใบคั้นผสมกับแอลกอฮอล์ แก้กลากเกลื้อนผื่นคัน


ใบผักชี มีสรรพคุณในทางเป็นสมุนไพรคือ จะใชัในการช่วยย่อย บำรุงกระเพาะ เจริญอาหาร ขับลมขับพิษ แก้หวัด ขับเหงื่อ ช่วยย่อยอาหาร ลดน้ำตาลในเลือด แก้โรคหัด พอกทาแก้ผื่นคัน แก้ไฟลามทุ่ง แก้ตับอักเสบ ลดการปวดบวมข้อ ต้มดื่มแก้ไอ แก้หวัด อาหารเป็นพิษ แก้สะอึก กระตุ้นการทำงานของเลือดพลาสมา และกล้ามเนื้อ มีสารต้านมะเร็ง ต้านแบคทีเรีย เชื้อรา และไข่ของแมลง จึงใช้ถนอมอาหาร


กล้วยตานี สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้เกือบทุกส่วนของต้น ตั้งแต่ ลำต้น ใบ ปลี และผล
การนำมาประกอบอาหาร ส่วนของปลี(ดอก)ประกอบอาหารได้หลายชนิด เช่น ต้มยำ ยำ ทอดกรอบ ฯลฯ ส่วนลำต้นจะใช้ส่วนในสุดที่เป็นสีขาวและกรอบโดยการลอกชั้นนอกออก นิยมนำมาทำเป็นแกงหยวก


ผักกาดหอมเป็นผักที่นิยมรับประทานสดๆนำมาทำเป็นผักสลัด หรือรับประทานแนมกับอาหารอื่นๆ เพื่อตัดความเลี่ยนและเพิ่มรสชาติของอาหารจานนั้นๆ  การรับประทานสดทำให้ได้รับวิตามินซีที่มีอยู่ในผัก กาดหอมสูงได้อย่างดี 
ผักกาดหอมมีสารเบต้าแคโรทีนสูง เป็นสาร Antioxidant ทำหน้าที่จับอนุมูลอิสระในร่างกายของเราได้ ทำให้ต้านมะเร็งได้หลายชนิด การแพทย์แผนจีนแนะนำให้คุณแม่รับประทานผักกาดหอมมากๆเพื่อเพิ่มน้ำนม


ต้นแต้วเป็นไม้ยืนต้นที่มีขนาดเล็กถึงขนาดกลางสูง 8-15 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลม กิ่งอ่อนมีขนนุ่มทั่วไป เปลือกสีน้ำตาลไหม้ แตกเป็นสะเก็ด  เปลือกในสีน้ำตาลแกมเหลือง และมีน้ำยางสีเหลืองปนแดงซึมออกมา ใบมนแกมรูปไข่กลับ
และรูปขอบขนาด กว้าง 2-5 ซม. ยาว 3-13 ซม. ออกเป็นคู่ ๆ ตรงกันข้าม  โคนสอบเรียวส่วนที่ค่อนไปทางปลายใบโตออกปลายสุดสอบเข้านื้อบางหลังใบมีขนสองท้องใบ มีขนนุ่ม หนาแน่น ดอกสีชมพูอ่อน ถึงสีแดง กลิ่นหอมอ่อน ๆ ออกเป็นดอก
ผลรูปร่างรีขนาดกว้าง1 ซม. ยาว 2 ซม. หรือย่อมกว่าเล็กน้อย มีนวลขาวติดตามผิว เมื่อแก่จัดออกเป็นสามแฉก เมล็ดสีน้ำตาล


กระชายเป็นพืชล้มลุก มีเหง้าหรือลำต้นอยู่ใต้ดิน ซึ่งมีลักษณะเรียวยาว อวบน้ำ ตรงกลางเหง้าจะพองคล้ายกระสวย ออกเกาะกลุ่มกันเป็นกระจุก มีสีน้ำตาลหรือน้ำตาลแกมส้ม กระชายมีอยู่สามชนิด คือ กระชายเหลือง กระชายดำ และกระชายแดง แต่คนนิยมให้กระชายเหลืองมากกว่าชนิดอื่น ใบกระชายเป็นใบเดี่ยวออกสลับกัน สีค่อนข้างแดง ใบมีขนาดยาวรีรูปไข่ ปลายใบแหลมมีขนาดใหญ่สีเขียวอ่อน โคนใบเป็นกาบหุ้มซ้อนกัน ออกดอกเป็นช่อที่ยอด ดอกมีสีขาวหรือขาวปนชมพู ผลของกระชายเป็นผลแห้ง นิยมปลูกเป็นพืชสวนครัว




มะเขือเปราะเป็นพืชผักที่ใช้ผลรับประทาน  เป็นไม้พุ่ม มีอายุอยู่ได้หลายฤดูกาล มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประทศอินเดีย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ มะเขือเปราะมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Solanum xanthocarpum  อยู่ในตระกูล Solanaceae มีลักษณะเป็นพุ่มสูง 2 – 4 ฟุต ใบมีขนาดใหญ่ เรียงตัว แบบสลับดอกมีขนาดใหญ่ สีม่วงหรือสีขาว เป็นดอกเดี่ยวผลมีรูปร่างกลมแบนหรือรูปไข ผลอาจมีสีขาว เขียว เหลือง ม่วง ขึ้นอยู่กับพันธุ์


มะเขือพวง
มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Solanum Torvum Sw. อยู่ในวงศ์ Solanaceae  ของพืชพวกพริกและมะเขือต่างๆ นั่นเอง ผลดิบของมะเขือพวงใช้เป็นยาแก้ไอ  ขับปัสสาวะและช่วยย่อยอาหาร การกินผลมะเขือพวงดิบเป็นอาหาร
(เช่นในเครื่องจิ้มชนิดต่างๆ ) ก็คงมีสรรพคุณทางยาด้วยเช่นกัน  ส่วนรากของมะเขือพวง ใช้รักษาโรคฝ่าเท้าแตก หรือ

Last Updated (Wednesday, 27 November 2013 09:50)